วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Harley Davidson





กฎเหล็ก " ห้ามนั่ง หรือ เเตะ รถคนอื่นโดยไม่ขออนุญาติ "


Don't Ever Sit On Another Man's Bike


วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการเข้าโค้งที่ถูกต้อง

ประเภทของการเข้าโค้ง




1.แบบ Lean-out (ลีน เอ้าท์)


          การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะถ่วงน้ำหนักตัวค่อนไปทางด้านนอกโค้ง โดยตัวรถจะเอียงเข้าไปด้านในโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะเหมาะสำหรับสภาพผิวทางโค้งที่สามารถลื่นไถลได้ง่าย การเข้าโค้งในลักษณะ Lean-out นี้จึงพบมากในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์วิบาก เนื่องจากสามารถควบคุมรถแม้เมื่อเกิดการลื่นไถลต่างๆ ได้ดี


2.แบบ Lean-With (ลีน วิท)
   การเข้าโค้งในลักษณะนี้ เรียกได้ว่าผู้ขับขี่นั้นจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวรถเลยก็คงจะไม่ผิด กล่าวคือทั้งรถและผู้ขับขี่จะเอียงไปเท่าๆ กัน ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานปกติเพราะผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนทิศทางและควบคุมรถได้อย่างง่ายดาย โดยที่มือและเท้ายังคงทำงานได้อย่างสะดวก เป็นท่าทางการเข้าโค้งแบบมาตรฐานของการขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกประเภท ที่จะช่วยให้เรามีความปลอดภัยในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

3.แบบ Lean-In (ลีน อิน)
          การเข้าโค้งแบบนี้ทางด้านผู้ขับขี่จะต้องถ่วงน้ำหนักไปทางด้านในโค้ง โดยเอียงมากกว่าตัวรถเล็กน้อย เหมาะสำหรับการเข้าโค้งที่ต้องการความเร็วและมั่นใจในการยึดเกาะของรถได้ การเข้าโค้งแบบนี้จะให้ความคล่องตัวในการบังคับควบคุมน้อยกว่าแบบ Lean-with

4.แบบ Hang-on (แฮงค์ ออน)

          การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะถ่วงน้ำหนักตัวไปด้านในโค้งมาก จนอยู่ในลักษณะแบบที่เราเรียกกันว่า "โหนรถ" เพื่อการทรงตัวที่ต้องบาล้านซ์กับแรงเหวี่ยงมากๆ จากการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะสามารถควบคุมรถได้ค่อนข้างยาก ไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานปกติ เพราะส่วนมากแล้วจะใช้การแบนโค้งในลักษณะนี้เฉพาะในสนามแข่งทางเรียบเท่านั้น

จากท่าทางการเข้าโค้ง 4 แบบที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่าการขับขี่เข้าโค้งแบบ Lean-With (แบบมาตรฐาน) เป็นท่าที่เหมาะสมและให้ความปลอดภัยมากที่สุด ตลอดจนเป็นท่าทางที่ต่อเนื่องมาจากท่าทางการขับขี่แบบปกติ ผู้ขับขี่จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนท่าก่อนหรือในขณะเข้าโค้ง กล่าวง่ายๆ ก็คือ เท้าทั้งสองอยู่บนพักเท้า หัวเข่าแนบกระชับถังน้ำมัน
แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือจากที่รถอยู่ในลักษณะตั้งตรงมาอยู่ในลักษณะเอียงและที่สำคัญก็คือไม่ว่าจะเอียงมากน้อยแค่ไหน ศีรษะจะต้องตั้งตรงเท่านั้น การที่ศีรษะตั้งตรงนี้ทำให้เรา
สามารถอ่านเหตุการณ์ข้างหน้าและรักษาสมดุลของร่างกายกับตัวรถได้ดียิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://bigbike.boxzaracing.com/knowledge/7564

ตัวอย่างรถแต่ละรุ่น

ตัวอย่างรถแต่ละรุ่น


1. Dyna


Dyna - Low Rider






Dyna - Low Rider S




Dyna - Street Bob






Dyna - Wide Glide




Dyna - Fat Bob




--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Sporter 


Sporter - Super Low




Sporter - Iron 883




Sporter - Forty-Eight





 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

V-ROD

V-ROD - Night Rod





V-ROD 

- V-ROD  Muscel






---------------------------------------------------------------------------------------------------------

TOURING

TOURING - ROADKING





TOURING - ROADKING CLASSIC





TOURING - ROAD GLIDE





TOURING - ROAD GLIDE ULTRA








TOURING - STREET GLIDE






TOURING -  ULTRA GLIDE







----------------------------------------------------------------------------------------------------------















วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ตระกูลต่าง ๆ ของมอเตอร์ไซต์ฮาเล่ย์ เดวิดสัน





1 CVO (CUSTOM VEHICLE OPERATION) เป็นที่คุ้นหูกันดีสำหรับคำว่า CVO รถรุ่นนี้ถือได้ว่าเป็นรถรุ่นพิเศษ เพราะเป็นรถที่ถูกตกแต่งมาจากโรงงานการผลิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ที่สวยงาม สมรรถนะของเครื่องยนต์ แน่นอนว่าราคาของเจ้า CVO ก็จะสูงกว่ารุ่นปกติ

ตัวอย่างรถรุ่นนี้ เช่น FXBSE CVO BREAKOUT, FLHRSE5 CVO ROAD KING, FLTRXSE2 CVO ROAD GLIDE,      FLHTCUSE8 CVO ULTRA CLASSIC ELECTRA GLIDE เป็นต้น 





2 TOURING สำหรับรถรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่คนขับฮาเล่ย์ในประเทศไทย และทั่วโลก เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้ว   Touring ผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ในระยะทางไกล ๆ มักจะชอบใช้รถรุ่นนี้เนื่องจากรูปทรงที่ใหญ่ นั่งสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมเต็มคัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องเก็บของ วิทยุ เครื่องเล่นซีดี ระบบ Intercome

ตัวอย่างรถในตระกูล Touring ได้แก่ FLHTH ELECTRA GLIDE, FLHTCU ULTRA CLASSIC ELECTRA GLIDE,    FLTRX ROAD GLIDE, FLHX STREET GLIDE, FLHR ROAD KING 





3 SOFTAIL เป็นรถอีกตระกูลที่นิยมไม่แพ้ตระกูล Touring สามารถออกทริปขับขี่ในระยะทางไกล ๆ ได้เช่นกันด้วยเครื่องยนต์ที่มีขนาด 1000 cc. ขึ้นไป เพียงแต่ Softail จะมีรูปร่างเล็กกว่า Touring ก็เท่านั้นเอง แต่ความสบายในการขับขี่ก็ยังถือได่ว่าเป็นที่น่าพอใจ เหมาะสำหรับคนรูปร่างเล็กจะสามารถควบคุมรถได้ดี

ตัวอย่างรถตระกูล Softail เช่น FLSTC HERITAGE SOFTAIL, FLSTN SOFTAIL DULUXE, FLSTFB FAY BOY, FLS SOFTAIL SLIM, FXS BLACKLINE 



4 VRSC สำหรับตระกูล VRSC ก็มีกลุ่มผู้หลงรักอยู่เป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นรถที่มีรูปลักษณ์แปลกใหม่ของฮาเล่ย์ ด้วยพละกำลังของเครื่องยนต์ที่แรงรถรุ่นนี้ยังใช้ในสนามแข่งขันอีกด้วย

VRSC จะมีอยู่ 2 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ VRSCDX NIGHT ROD และ VRSCF V-ROD







5 DYNA เมื่อกล่าวถึง DYNA ในประเทศไทยก็ยังคงได้รับความสนใจอยู่พอสมควรแต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ Softail หรือ Sportster Dyna เป็นตระกูลรถขนาดเล็กรองลงมาจาก Softail

ตัวอย่างรถในตระกูลนี้ เช่น FLD SWITCHBACK, FXDF FAT BOB, FXDWG WIND GLIDE, FXDC SUPER GLIDE, FXDB STREET BOB เป็นต้น 







6 SPORTSTER สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นในการควบฮาเล่ย์ มักจะเริ่มต้นจากรถ Sportster (แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ) เนื่องจากรถ Sportster เป็นรถที่มีรูปร่างเล็กขนาดเครื่องยนต์ก็เล็กกว่าตระกูลอื่น ๆ เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมืองหรือขับขี่ไปทำงาน เป็นรถยอดฮิตของหมู่วัยรุ่น

ตัวอย่างรถในตระกูลนี้ เช่น XL 883L SUPERLOW, XL883R, XL 883N IRON, XL1200CB, XL1200CA, XL1200C, NIGHTSER, XL1200V SEVENTY-TWO, XL1200X FORTY-EIGHT 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก    http://hd-mania-thailand.blogspot.com/2013/10/clan-of-harley-davidson.html



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนะนำการแต่งรถแต่ละรุ่น

แนะนำการแต่งรถแต่ละรุ่น

1 Street Glide 


Street Glide


แต่งแนว  Bagger

Street Glide Bagger

2 Road Glide

Road Glide


แต่งแนว  Bagger

Road Glide Bagger


3.ROADKING



แต่งแนว Bagger





แนะนำการแต่งรถแต่ละรุ่น

แนะนำการแต่งรถแต่ละรุ่น

1 Street Glide 


Street Glide


แต่งแนว  Bagger

Street Glide Bagger

2 Road Glide

Road Glide


แต่งแนว  Bagger

Road Glide Bagger




วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ Harley-Davidsion

ประวัติ Harley-Davidsion 


ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน (Harley Davidson) เป็นชื่อของผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ชื่อดังที่หลายคนคุ้นเคยดี ด้วยรูปลักษณ์ของตัวรถอันโดดเด่น สมรรถนะแรงได้ใจ และเสียงของเครื่องยนต์อันเป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างยาวนานนับร้อยปี





          เริ่มต้นใน พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) เมื่อวิลเลียม ฮาร์เล่ย์ (William Harley) และสองพี่น้อง อาร์เธอร์ กับ วอลเตอร์ เดวิดสัน (Arthur Davidson และWalter Davidson) ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไซค์คันแรกของพวกเขาด้วยการนำเครื่องยนต์ 1 สูบมาติดตั้งกับจักรยานเพื่อไว้ใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยได้เริ่มทำธุรกิจผลิตจักรยานติดเครื่องยนต์จำหน่ายภายในกระท่อมหลังบ้านพวกเขา ที่เมืองมิลวอกี้ รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐฯ ต่อมา จักรยานติดเครื่องยนต์ของทั้งสามได้รับความนิยมมากขึ้น พวกเขาจึงได้ตั้งโรงงานประกอบขึ้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) และใน พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) พวกเขาเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าตราโล่ ซึ่งยังคงใช้อยู่ถึงปัจจุบัน


          จุดเปลี่ยนของพวกเขาเกิดขึ้นเมื่อ วิลเลียม ฮาร์เล่ย์ ประดิษฐ์เครื่องยนต์ V-Twin ได้สำเร็จใน พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) โดยเครื่องยนต์ V-Twin รุ่นแรกมีขนาดกระบอกสูบ 880 ซีซี กำลัง 7 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม. และได้ทำการปรับปรุงเรื่อยมา โดยใน พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1913) ฮาร์เล่ย์ก็ได้หันมาใช้เครื่องยนต์ V-Twin ในมอเตอร์ไซค์ของพวกเขาเป็นครั้งแรก และยังคงถูกดัดแปลงใช้งานอยู่จนปัจจุบัน



           เมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันได้ผลิตมอเตอร์ไซค์ให้กองทัพอเมริกาใช้งาน โดยถือเป็นมอเตอร์ไซค์รุ่นแรกที่ถูกใช้งานในการสงคราม ซึ่งในช่วงนั้นมีฮาร์เลย เดวิดสันประจำการในกองทัพกว่า 15,000 คันเลยทีเดียว



          ในทศวรรต 1920 หรือ พ.ศ. 2463 - 2472 ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างมาก โดยกลายเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งส่งออกมากกว่า 67 ประเทศ พวกเขาจึงพัฒนาการออกแบบถังน้ำมันทรงหยดน้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์จนปัจจุบัน รวมทั้งเริ่มติดตั้งเบรกล้อหน้าเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังประสบความสำเร็จด้านมอเตอร์สปอร์ตด้วยการทำลายสถิติความเร็วสูงกว่า 160 กม./ชม. ด้วย


          ช่วงทศวรรษ 1930 หรือ พ.ศ. 2473 – 2482 เป็นช่วงของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งฮาร์เล่ย์ เดวิดสันเองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย โดยมียอดขายหายไปถึงเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2 ปี โดยในช่วงนี้ ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันได้ปรับปรุงการออกแบบด้วยการนำรูปนกเหยี่ยว ในสไตล์อาร์ต เดโค (Art Deco) เข้ามาใส่ในมอเตอร์ไซค์ อีกทั้งยังเปิดตัวเครื่องยนต์แบบ Knucklehead เป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาทั้งรูปเหยี่ยวและเครื่องยนต์แบบดังกล่าวก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของฮาร์เล่ย์ เดวิดสันจนทุกวันนี้




XA


        ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันเป็นหนึ่งในสองผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ที่รอดจากวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และเมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐฯ จึงได้ให้ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันผลิตมอเตอร์ไซค์สำหรับใช้งานในกองทัพอีกครั้ง โดยครั้งนี้ พวกเขาผลิตออกมา 2 รุ่น ได้แก่รุ่น XA ซึ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ที่เลียนแบบเทคโนโลยีจากบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) และถูกผลิตมีเพียง 1,000 คัน เท่านั้น อีกรุ่นหนึ่งคือ รุ่น WLA ที่ถูกผลิตออกมามากกว่า 60,000 คัน แถมหลังจากจบสงคราม ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันยังคงผลิตรถรุ่นนี้ต่อไปเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้งานอีกด้วย



WLA


          ช่วงทศวรรษที่ 1950 หรือ พ.ศ. 2493-2502 ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันนำเทคโนโลยีกันสะเทือนแบบไฮโดรลิกมาใช้กับมอเตอร์ไซค์ของตนเอง และได้นำเสนอฮาร์เล่ย์รุ่น K ซึ่งพัฒนากลายเป็นรุ่นสปอร์ตสเตอร์ (Harley Davidson Sportster) มอเตอร์ไซค์รุ่นยอดนิยมของค่าย




          ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน เคยถูกซื้อกิจการโดย AMF (American Machine and Foundry) ใน พ.ศ.   2512 (ค.ศ. 1969) ซึ่ง AMF ทำการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดการนัดหยุดงานของ พนักงานและคุณภาพของมอเตอร์ไซค์ที่ตกต่ำ ประกอบกับที่มอเตอร์ไซค์ของญี่ปุ่นกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จนทำให้ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันเกือบล้มละลาย แต่ในที่สุด อดีตผู้บริหารและทายาทของผู้ก่อตั้งฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ก็ได้รวมตัวกันซื้อบริษัทฮาร์เล่ย์ เดวิดสันคืนจาก AMF และช่วยกันกอบกู้บริษัทจนกลับ คืนสู่ความยิ่งใหญ่จนปัจจุบัน โดยเน้นการผลิตที่ได้คุณภาพ รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมของฮาร์เล่ย์ เดวิด สันไว้ทั้งรูปทรง กำลังเครื่อง และเสียงได้อย่างครบถ้วน


       ไม่เพียงแต่มอเตอร์ไซค์ทรงคลาสสิกเท่านั้น ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันยังเคยมีมอเตอร์ไซค์ทรงสปอร์ต     ด้วย โดยเข้าซื้อกิจการของค่ายมอเตอร์ไซค์สปอร์ตที่ชื่อว่า บูเอล (Buell) ซึ่งได้รับเสียงตอบรับดีพอ สมควรด้วยเครื่องยนต์กำลังแรงแบบฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ผสานกับดีไซน์สปอร์ตทันสมัย แต่สุดท้าย ฮาร์เล่ย์ เดวิดสันก็ได้ขายกิจการคืนให้กับ อีริค บูเอล ผู้ก่อตั้งของบูเอล เมื่อ พ.ศ.2552 (ค.ศ. 2009)

--------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างเสียงเครื่อง harley


                                     

ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://car.kapook.com/view81306.html